ระบบโครงกระดูก
ระบบโครงกระดูก เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันอวัยวะบอบบางต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เกาะเกี่ยว อยู่ภายในกระดูกแต่ละส่วนของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งภายใน-กระดูกคือ ไขกระดูก ขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัส บริเวณรอบกระดูกจะมีเนื้อเยื่อหนาห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ซึ่งเยื่อหุ้มกระดูกนี้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูกและหลอด-เลือด ซึ่งจะนำเลือดมาเลี้ยงในส่วนของกระดูกชั้นนอก กระดูกชั้นนอกหรือเรียกว่า กระดูกทึบ (Compact bone) ประกอบด้วยเกลือแร่สะสมอยู่เป็นวงกลมล้อม รอบท่อขนาดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ท่อฮาเวอร์เชียน (Haversian canal) เซลล์กระดูกรอบๆท่อฮาเวอร์เชียน จะได้รับอาหารและ-ออกซิเจนจากหลอดเลือดที่ผ่านท่อฮาเวอร์เชียนที่ผ่านท่อเหล่านี้ และถ้าหากว่า กระดูกเกิดแตกหักเส้นประสาทในท่อเล็กๆ นี้ก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองเราจึงรู้สึกถึงความเจ็บปวด ส่วนกระดูกชั้นในนั้นมองดูคล้ายรวงผึ้ง เพราะมีลักษณะเป็นร่างแหที่มีช่องว่างระหว่างกระดูก เรียกว่า กระดูกพรุน (Spongy bone) แต่ก็มีความแข็งแรงไม่แพ้ส่วนกระดูกทึบเช่นกันซึ่งถ้ากระดูกของคนเราเป็นกระดูกทึบทั้งท่อนร่าง-กาย คงหนักมาก ไขกระดูกจะมีปริมาณราวๆ 227 กรัม สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ประมาณ 5,000 เม็ด/วัน สำหรับทารกในครรภ์ โครงกระดูกทุกชิ้น มีไขกระดูกแดงบรรจุอยู่ แต่เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่แล้วจะพบไข-กระดูกนี้เฉพาะในส่วนของกะโหลก ศรีษะ กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและบริเวณตอนปลายของกระดูกชิ้นยาวๆ เท่านั้น
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
- Claviclel – ไหปลาร้า
- Humerus – กระดูกต้นแขน
- Sternum – กระดูกหน้าอก
- Rib – กระดูกซี่โครง
- Radius – กระดูกแขนด้านนอก
- Ulna – กระดูกแขนด้านใน
- Femur – กระดูกต้นขา
- Patella – สะบ้า
- Skull – กระโหลกศีรษะ
- Scapula – กระดูกสะบัก
- Thoracic Vertebrae – กระดูกสันหลัง
- LLium – กระดูกสะโพก
- Sacrum – กระดูกเชิงกราน
- Tibia – กระดูกหน้าแข้ง
- Fibula – กระดูกน่อง
ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- กระดูกอ่อน (Cartilage) ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เพื่อที่จะทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือหัวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทัวร่างกาย
- ข้อต่อ (Joints) คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน เพื่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- เอ็น (Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ (Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
- กระดูก (Bone) เป็นส่วนที่แข็งที่สุด โครงกระดูกในผู้ใหญ่ ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน
มนุษย์มีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. กระดูกแกนกลางของร่างกาย (Axial skeletal) มีทั้งหมด 80 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกกะโหลกศรีษะ (Cranium)
- กระดูกหน้าผาก (Frontal bone) 1 ชิ้น
- กระดูกด้านข้างศรีษะ (Parietal bone) 2 ชิ้น
- กระดูกขมับ (Temporal bone) 2 ชิ้น
- กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) 1 ชิ้น
- กระดูกขื่อจมูก (Ethmoid bone) 1 ชิ้น
- กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone) 1 ชิ้น
2. กระดูกใบหน้า (Bone of face)
- กระดูกสันจมูก (Nasal bone) 2 ชิ้น
- กระดูกกั้นช่องจมูก (Vomer) 1 ชิ้น
- กระดูกข้างในจมูก (Inferior concha) 2 ชิ้น
- กระดูกถุงน้ำตา (Lacrimal bone) 2 ชิ้น
- กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic bone) 2 ชิ้น
- กระดูกเพดาน (Palatine bone) 2 ชิ้น
- กระดูกขากรรไกรบน (Maxillary) 2 ชิ้น
- กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) 1 ชิ้น
3. กระดูกหู (Bone of ear)
- กระดูกรูปฆ้อน (Malleus) 2 ชิ้น
- กระดูกรูปทั่ง (Incus) 2 ชิ้น
- กระดูกรูปโกลน (Stapes) 2 ชิ้น
4. กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
5. กระดูกสันหลัง (Vertebrae) 26 ชิ้น ได้แก่
- กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) 5 ชิ้น
- กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) 1 ชิ้น
- กระดูกก้นกบ (Coccyx) 1 ชิ้น
6. กระดูกทรวงอก (Sternum) 1 ชิ้น
7. กระดูกซี่โครง (Rib) 24 ชิ้น
2. กระดูกระยางค์ (Appendicular skeletal) ประกอบด้วย กระดูก 126 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกไหล่ (Shoulder girdle) ประกอบด้วย
- กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) 2 ชิ้น
- กระดูกสะบัก (Scapular) 2 ชิ้น
2. กระดูกต้นแขน (Humerus) 2 ชิ้น
3. กระดูกปลายแขน (Bone of forearm) ประกอบด้วย
- กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) 2 ชิ้น
- กระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) 2 ชิ้น
4. กระดูกข้อมือ (Carpal bone) 16 ชิ้น
5. กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bone) 10 ชิ้น
6. กระดูกนิ้วมือ (Phalanges) 28 ชิ้น
7. กระดูกเชิงกราน (Hip bone) 2 ชิ้น
8. กระดูกต้นขา (Femur) 2 ชิ้น
9. กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) 2 ชิ้น
10. กระดูกน่อง (Fibula) 2 ชิ้น
11. กระดูกข้อเท้า (Tarsal bone) 14 ชิ้น
12. กระดูกฝ่าเท้า (Metatarsal bone) 10 ชิ้น
13. กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges) 28 ชิ้น
จำนวนของกระดูก (Number of bone)
จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มที่แล้ว มีทั้งสิ้น 206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
– กะโหลกศรีษะ( Cranium) 8 ชิ้น
– กระดูกหน้า (Face) 14 ชิ้น
– กระดูกหู (Ear) 6 ชิ้น :กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
– กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
– กระดูกหน้าอก (Sternum) 1 ชิ้น
– กระดูกซี่โครง (Ribs) 24 ชิ้น
– กระดูกแขน (Upper extremities) 64 ชิ้น
– กระดูกขา (Lower extremities) 62 ชิ้น
แบ่งตามลักษณะกระดูก
1. กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
2. กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
3. กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
4. กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
5. กระดูกลม
6. กระดูกโพรงกะโหลกศีรษะ
หน้าที่ของกระดูก
1. ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่ (Organ of support)
2. เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น พาร่างกายย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Instrument of locomotion)
3. เป็นโครงของส่วนแข็ง (Framework of hard material)
4. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ และ Ligament เพื่อทำหน้าที่เป็นคานให้กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
5. ช่วยป้องกันอวัยวะสำคัญไม่ให้ได้รับอันตราย เช่น สมอง ปอด และหัวใจ เป็นต้น
6. ทำให้ร่างกายคงรูปได้ (Shape to whole body)
8. เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย
9. ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น
ข้อต่อและกระดูก
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
ทางซ้ายคือแบบบานพับ ขวาคือแบบโพรง
การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
1. เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
2. เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
3. เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
อาหารและยาที่เรากินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป การฉีดเข้าข้อต่อโดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วนทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ
การบำรุงรักษาและพัฒนาโครงร่าง
ข้อเคล็ด เกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดติดกระดูกฉีกขาด ทำให้อักเสบบวมบริเวณข้อต่อ และห้อเลือด รักษาโดยใช้น้ำแข็งประคบ
1. ท่ายืนควรยืดไหล่หลังตรง แอ่นเล็กน้อยบริเวณคอ
2. หน้าอกแอ่น ตะโพกยื่น ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นมากทำให้เกิดอาการปวดหลัง
3. การนั้งเอามือเท้าคาง หลังงอ ทกให้กรดูกสันหลังโก่ง ปวดหลัง
4. การเดินเอาส้นเท้าลงก่อน ทำให้พยุงน้ำหนักได้ดี เดินเร็วแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบากว่าการเดินเอาปลายเท้าลง
อาหารบำรุงกระดูก
1. จากพันธุกรรม
2. จากเชื้อโรค
3. จากสิ่งแวดล้อม
4. จากวัย, อายุที่เพิ่มขึ้น
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
- กระดูกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น กะโหลกศีรษะ
- กระดูกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เช่น กระดูกบริเวณก้นกบ
- กระดูกแบบบานพับ เช่น กระดูกต้นแขน ข้อต่อบริเวณหัวเข่า
- กระดูกแบบหัวกลม เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกต้นคอ กระดูกต้นขากระดูกสะบักเป็นต้น
ทางซ้ายคือแบบบานพับ ขวาคือแบบโพรง
การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
1. เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
2. เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
3. เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
อาหารและยาที่เรากินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป การฉีดเข้าข้อต่อโดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วนทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ
การบำรุงรักษาและพัฒนาโครงร่าง
ข้อเคล็ด เกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดติดกระดูกฉีกขาด ทำให้อักเสบบวมบริเวณข้อต่อ และห้อเลือด รักษาโดยใช้น้ำแข็งประคบ
1. ท่ายืนควรยืดไหล่หลังตรง แอ่นเล็กน้อยบริเวณคอ
2. หน้าอกแอ่น ตะโพกยื่น ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นมากทำให้เกิดอาการปวดหลัง
3. การนั้งเอามือเท้าคาง หลังงอ ทกให้กรดูกสันหลังโก่ง ปวดหลัง
4. การเดินเอาส้นเท้าลงก่อน ทำให้พยุงน้ำหนักได้ดี เดินเร็วแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบากว่าการเดินเอาปลายเท้าลง
อาหารบำรุงกระดูก
อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดเสื่อมสภาพเร็ว
โรคเกี่ยวกับกระดูก มาจากหลายสาเหตุ1. จากพันธุกรรม
2. จากเชื้อโรค
3. จากสิ่งแวดล้อม
4. จากวัย, อายุที่เพิ่มขึ้น
ขอบคุณครับ ^_^
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ